วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

การเพาะพันธุ์ปลาบอลลูน

การเพาะพันธุ์ปลาบอลลูน

  
การเพาะพันธุ์ปลาบอลลูน
ปลาบอลลูนเป็นปลามอลลี่ที่นำมาผสมแบบเลือดชิดจนเกิดร่างกายสั้นป้อม
คัดเลือก และพัฒนามาจากความผิดปกติของปลามอลลี่ (molly) ที่มีลำตัวสั้นกว่าปกติมาผสมพันธุ์กันทำให้ได้ลูกหลานที่มีลำตัวสั้น เป็นปลาที่อยู่ในตระกูลเดียวกับปลาหางนกยูง ปลาสอดและ
ปลาแพทตี้
          ปลาบอลลูนจัดเป็นปลาในกล่มออกลูกเป็นตัวชนิดหนึ่งที่นอกจากจะเลี้ยงง่ายแล้วยังเพาะพันธุ์ง่ายด้วย การเพาะพันธุ์ปลาบอลลูนนั้นสามารถเพาะเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์และในกระชังซึ่งมีขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้คือ
          การเพาะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
          มีวิธีการเลี้ยงคล้าย ๆ กับการเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูงในบ่อซีเมนต์คือ นำพ่อแม่พันธุ์ อายุประมาณ 3-4 เดือนขึ้นไป ปล่อยลงในบ่อซีเมนต์ ขนาดตามสะดวก และความต้องการของท่านว่าจะอยากได้ การผสมแนะนำให้ใช้อัตราส่วนเพศผู้ : เพศเมียเท่ากับ 1:4  ถ้าบ่อขนาด 3 x3 เมตร ระดับน้ำ 30 เซนติเมตรสามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ได้ประมาณ 1,000 ตัว (100-120 ตัว/1 ตารางเมตร) แม่ปลาจะตั้งท้องประมาณ 28-35 วันและให้ลูกปลา 10-30 ตัว/แม่ปลา 1 ตัว แม่ปลาแต่ละรุ่นอายุไม่ควรเกิน 7-8 เดือน ควรนำปลารุ่นใหม่มาเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
           เมื่อแม่ปลาให้ลูกจะต้องคอยตักลูกปลาทุกวันเพื่อไม่ให้มันกินลูก แล้วนำไปล่อยในบ่อนุบาลเพื่ออนุบาลต่อไป บ่ออนุบาลควรมีขนาด 1-6 ตารางเมตรโดยปล่อยในความหนาแน่น 120-200 ตัว/1 ตารางเมตร การอนุบาลช่วงแรกให้กินไรแดง 2 มื้อ เช้า-เย็น จนกระทั้งอายุได้ 1 เดือน แต่ขึ้นอยู่กับสถานที่เลี้ยงว่าสามารถหาไรแดงได้สะดวกหรือไป ถ้าไม่สามารถหาไรแดงได้เมื่อปลามีอายุ 2 สัปดาห์ไปแล้ว สามารถให้อาหารผสมแทนในมื้อเย็นได้ เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน ทำการคัดขนาด แยกเพศและคัดปลาพิการออก ส่วนการถ่ายน้ำและการจัดการบ่อสามารถกระทำได้เมื่อลูกปลามีอายุ 3 สัปดาห์ไปแล้ว โดยถ่ายน้ำประมาณ 80% แล้วเติมน้ำใหม่ให้เท่ากับส่วนที่ถ่ายออก
            ทำการเลี้ยงลูกปลาต่อในความหนาแน่นประมาณ 60-80 ตัว/1 ตารางเมตร เลี้ยงต่อจนอายุได้ 2-2.5 เดือนก็สามารถคัดขนาดอีกครั้งเพื่อจำหน่ายได้ การเลี้ยงปลารุ่นนี้สามารถให้กินอาหารผสมในมื้อเย็นหรือถ้าไม่มีไรแดงก็สามารถให้กินอาหารผสมทั้ง 2 มื้อเช้าเย็นได้ การถ่ายน้ำและการจัดการบ่อในระยะนี้ ควรมีการถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้งโดยถ่ายน้ำออกทั้งหมดแล้วเติมน้ำใหม่จนเท่าระดับน้ำเดิม สาเหตุที่ต้องถ่ายน้ำหมดเนื่องจากปลารุ่นมีการให้อาหารผสมสลับกับอาหารมีชีวิตคือไรแดง จึงมีส่วนของเศษอาหารที่หลงเหลือจากการกินและส่วนที่เป็นสิ่งขับถ่ายออกมาจากตัวปลา ทำให้น้ำมีคุณภาพไม่ดีเร็วยิ่งขึ้นและจะขุ่นตลอดเวลา การเปลี่ยนถ่ายน้ำทั้งหมดจะช่วยเพิ่มอัตราในการเจริญเติบโต แต่ควรพึงระวังคุณสมบัติน้ำที่เปลี่ยนถ่ายควรจะใกล้เคียงกับน้ำเก่าในบ่อ

          ให้ระวังคางคก หรืออึ่งอ่าง หรือกบ ลงไปกินให้หมั่นตรวจสอบจุดที่มันสามารถซ่อนได้ และบริเวณใต้ก้นบ่อ ใต้ขอบบ่อ บริเวณพื้นน้ำ และหิน

แบบฝึกหัดที่ 4

ชื่อ-สกุล  นายศุภกร สถิตโสฬส                       รหัส 57010112037   

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.      ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1) การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล เทป   บัตรATM   และเครื่องเอกซเรย์           
2) การแสดงผล จอคอมพิวเตอร์   ลำโพง   และ โปรเจคเตอร์
3) การประมวลผล = CPU   ซอฟต์แวร์   และฮาร์ดแวร์                             
4) การสื่อสารและเครือข่าย = AIS TRUE และ DTAC
Picture

แบบฝึกหัดที่ 3

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน       รหัส0026008

นายศุภกร สถิตโสฬส                                                     รหัส57010112037

1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ก. ความสามารถในการกลั่นกรอง และประเมินค่าสารสนเทศที่หามาได้
ข. ความสามารถในการตัดสินใจใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ
ค. ความสามารถของบุคคลในการสืบค้นและพัฒนาสารสนเทศ
ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ
2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ก. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงต้องการสารสนเทศ
ข. ความสารถในการค้นหาสารสนเทศ
ค. ความสามารถในการประเมินผลสารสนเทศ
ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ก. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ข. สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
ง. ใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาสารสนเทศได้

4. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
1. โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
2. ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
3. สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
4. ช่วยบุคคลเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ

ก. 1-2-3-4-5     ข. 2-4-5-3-1       ค. 5-4-1-2-3      ง. 4-3-5-1-2

แบบฝึกหัดที่ 2

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                 รหัส0026008

นายศุภกร สถิตโสฬส                                                         รหัส57010112037

1. รายชื่อเว็บไชต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บิการตามหัวข้อต่างๆ
1.1การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
http://www.dlf.ac.th 
http://www.vcharkarn.com 
http://www.thaigoodview.com 
1.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน 
http://www.moc.go.th 
http://www.goonline.in.th 
http://www.tarad.com  
1.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน 
http://www.manager.co.th
http://www.thaitv3.com
http://www.seedmcot.com  
1.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
http://www.industry.go.th 
http://www.thairung.co.th 
http://www.carryboy.com
1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
http://www.dmsc.moph.go.th 
http://www.niems.go.th  
http://www.worldcommunitygrid.org  
1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
http://www.rtsd.mi.th  
http://www.navy.mi.th 
http://www.rtaf.mi.th
1.7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
http://www.coe.or.th  
http://www.tumcivil.com
http://www.thaiengineering.com
1.8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
http://www.doae.go.th
http://www.bangsaiagro.com 
http://www.thaigreenagro.com 
1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่างๆ
http://www.nep.go.th  
http://www.braille-cet.in.th  
http://www.tddf.or.th/

2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง
            2.1 ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในมหาวิทยาลัย
            2.2 ระบบสืบค้นข้อมูลสารสนเทศออนไลน์ผ่านบริการ e-library
           2.3 งานบริการการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาที่สำนักงานคอมพิวเตอร์

3. จากข้อสอง ท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนอย่างไรบ้าง
            ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในทุกวันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็ว่าได้ เพราะฉะนั้น การที่จะนำมาให้เกิดประโยชน์ก็เป็นเรื่องงาน เช่นระบบการเรียนออนไลน์ ที่สามารถหาเพิ่มเติมได้นอกเหนือจากบทเรียน หรือหากต้องการใช้บริการหนังสือจากนนักวิทยบริการ ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะค้นหาหนังสือที่ต้องการได้จากระบบออนไลน์ ก่อนที่จะไปใช้บริการ เราสามารถค้นได้จากทุกที แม้กระทั้งที่หอพัก ถัดจากสำนักวิทยบริการ เป็นสำนักคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการคอมพิวเตอร์แก่นิสิต และบุคคลทั่วไป เพื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน และการพัฒนามากกว่าที่เคย

แบบฝึกหัดที่ 1

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน       
รหัส 0026008

นายศุภกร สถิตโสฬส                               
รหัส 57010112037

1. ข้อมูลหมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น การแปลความหมายทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านการเก็บรวบรวม หรือ บันทึกไว้ แต่ยังไม่ผ่านการประมวลผลใดๆ
2. ข้อมูลปฐมภูมิ คือ เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้หรือหน่วยงานที่ใช้เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การทดลอง หรือการสังเกตการณ์ ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ตัวอย่างเช่น >> การสัมภาษณ์บุคคลผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาในต่างประเทศ

3. ข้อมูลทุติยะภูมิ คือ เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ได้เก็บรวบรวมเอง แต่มีผู้อื่นหรือ หน่วยงานอื่นๆ ทำการเก็บรวบรวมไว้แล้ว การนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาใช้เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่ในบางครั้งข้อมูลอาจจะไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ หรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอที่จะนำไปวิเคราะห์
ตัวอย่างเช่น >> สถิติการใช้งานคอมพิวเตอร์ในสำนักคอมพิวเตอร์

4. สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ แปลความหมาย และประมวลผลเรียบร้อย ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ และสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้

5. จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ การจำแนกสารสนเทศ มีการจำแนก 2 แบบ ขึ้นอยู่กับดุลพินิตของผู้ที่ต้องการใช้
              5.1 จำแนกตามแหล่งที่มา
                   5.1.1 สารสนเทศปฐมภูมิ คือ สารสนเทศที่มาจากแหล่งที่มาโดยตรง จะอยู่ในรูปของสื่อ วารสาร นิตยสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือถ่ายทอดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
                   5.1.2 สารสนเทศทุติยภูมิ คือ สารสนเทศที่ได้มาจากสารสนเทศปฐมภูมิ และมีการเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ จัดหมวดหมู่ เพื่อเป็นประโยชน์และตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการและรวดเร็วมากขึ้น

                   5.1.3 สารสนเทศตติยภูมิ คือ สารสนเทศที่นำมาจากสองประเภทข้างต้น แต่จะไม่ตรงกับเนื้อหามากนัก แต่จะช่วยในการค้นหาสาระเฉพาะสาขาวิชาได้
           5.2 จำแนกตามแหล่งเก็บข้อมูล
                   5.2.1 กระดาษ เป็นการจัดเก็บสารสนเทศยุคแรกๆที่เกิดขึ้น ได้รับความนิยมเพราะงายต่อการบันทึกและจัดเก็บ
                   5.2.2 วัสดุย่อส่วน คือการนำสารสนเทศบันทึกลงวัสดุที่ง่ายต่อการจัดเก็บและประหยัดพื้นที่เช่นแผ่นฟิล์ม แต่มิได้รับความนิยมมากนักเพราะยากต่อการบันทึกและเก็บรักษา
                   5.2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ วัสดุสังเคราะห์ที่ถูกเคลือบด้วยสารแม่เหล็ก
                   5.2.4 สื่อออปติก วัสดุที่ต้องบันทึกด้วยแสงและใช้งานด้วยแสง เช่นแผ่นซีดีรอม

6. ข้อเท็จจริงหรือสิ่งต่างๆ อาจเป็นตัวเลข ข้อความ เสียง หรือรูปภาพ คือ ข้อมูล

7. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล คือ สารสนเทศ

8. ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคน คือ ข้อมูลปฐมภูมิ

9. ผลการลงทะเบียนของนิสิตปี 1 เป็น ข้อมูลทุติยภูมิ

10. กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน Section วันอังคาร เป็น สารสนเทศปฐมภูมิ